Lighting Content

ไอเดียไฟแต่งสวน สร้างบรรยากาศดีๆได้ด้วย โคมไฟภายนอก หลายรูปแบบ

แม้ว่าสวนจะไม่ได้เป็นพื้นที่หลักของบ้าน แต่ก็เป็นพื้นที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ประสานการใช้ชีวิตระหว่างในบ้านและนอกบ้าน หลายคนอาจต้องการสวนภายนอกที่ดูสวยร่มรื่นสบายตา ไม่ว่าจะเป็นแค่พื้นที่เล็กๆ ข้างบ้าน หรือพื้นที่สวนกว้างรอบบ้าน การติดตั้งโคมไฟภายนอกและในสวน นอกจากสร้างความสวยงามอีกรูปแบบแล้ว ยังมอบความปลอดภัยให้กับพื้นที่นอกบ้านอีกด้วย

ประเภทของโคมไฟภายนอก

1.โคมไฟเตี้ย (Bollard Light)

มีความสูงประมาณ 1 เมตร หรือ ต่ำกว่า ใช้ติดตั้งริมทางเดินถนนที่มีความกว้างน้อยกว่า 5 เมตร ส่องกระจายออกจากตัวโคมให้แสงสว่างโดยรอบ ระยะห่างของโคมไฟแต่ละโคมควรห่างกันประมาณ 4 – 6 เมตร

2.โคมไฟเสาสูง (Light Column, Pole Light, Post top)

ใช้ติดตั้งริมทางเดิน หรือถนนที่มีความกว้างตั้งแต่ 3 – 10 เมตร ให้แสงเป็นจุด ส่งกระจายออกจากตัวโคม ให้แสงสว่างโดยรอบพื้นที่ ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างเสาไฟแต่ละต้น คือ 6 – 12 เมตร ขึ้นอยู่กับความสูงของเสา ยิ่งเสาไฟสูงก็จะยิ่งกระจายแสงได้มากขึ้น

3.โคมไฟฝังพื้น (In-ground Uplight)

มีทั้งแบบที่หน้าเป็นโคมรูปวงกลมและสี่เหลี่ยม ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ สำหรับโคมไฟประเภทนี้ มักนิยมใช้ติดตั้งบริเวณทางเดินและระเบียงภายนอก เมื่อเปิดไฟจะเห็นเป็นจุดไฟเล็กๆ โคมไฟฝังพื้นขนาดเล็ก เหมาะกับการให้แสงกับผนังอาคารภายนอก หรือฝังกับพื้นดินเพื่อให้แสงสว่างกับต้นไม้ เป็นต้น

4.ไฟผนัง (Outdoor Wall Lamp)

นิยมใช้กับผนังริมทางเดิน ผนังข้างบันได หรือลูกนอนบันได หรือใช้ติดตั้งบริเวณกำแพงเพื่อให้ความสว่างและเพิ่มความปลอดภัยให้กับบริเวณรอบบ้านของคุณ

5.โคมไฟส่องต้นไม้ (Spike Light)

โคมไฟ ส่องต้นไม้ นับว่าเป็นโคมไฟพื้นฐาน ของการออกแบบแสงในสวนเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าไม่มีไฟส่องต้นไม้ อาจทำให้ไม่เห็นสีของใบไม้ รูปทรงของต้นไม้ หรือแม้แต่บรรยากาศของสวนในตอนกลางคืนได้เลย สามารถนำโคมไฟไปปักส่องตามต้นไม้และบริเวณสวนได้

6. ไฟใต้น้ำ (Underwater)

นิยมใช้สำหรับสระว่ายน้ำ บ่อบัว หรือ บ่อปลา จัดเป็นโคมไฟใต้น้ำทั้งสิ้น ตัวโคมออกแบบมาเพื่อให้สามารถแช่น้ำโดยไม่มีปัญหาเรื่องการรั่วซึมของน้ำเข้าไปในอุปกรณ์

รู้จัก “โคมไฟดาวน์ไลท์” เลือกใช้อย่างไรให้สวย พร้อมประหยัดไฟ

“โคมไฟดาวน์ไลท์” เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างในรูปแบบของโคมไฟที่ออกแบบมาเพื่อให้มีการกระจายแสงลงมาด้านล่าง โดยมักใช้ในการให้แสงสว่างในพื้นที่เฉพาะ เช่น โต๊ะทำงานหรือโต๊ะอาหาร หรือแม้กระทั่งการใช้งานในห้องนอน โดยมีข้อดีคือสามารถสร้างบรรยากาศให้กับห้องได้อย่างมีสไตล์ นอกจากนี้ยังช่วยให้มีแสงสว่างส่องลงมาถึงพื้นที่ที่ต้องการเน้นได้เช่นกัน

1. ไฟดาวน์ไลท์แบบฝังใต้ฝ้า (Recessed Downlight)

 เป็นการฝังโคมอยู่ใต้ฝ้าทั้งหมด จะดูกลมกลืนไปกับฝ้าเพดาน เห็นเพียงหน้าโคมเท่านั้น ทำให้มีความสวยงามสบายตา จึงเป็นไฟดาวน์ไลท์ที่นิยมใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะในบ้าน ที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม ร้านอาหาร รวมถึงโรงแรม หรืออาคารสำนักงานต่าง ๆ

       2. ไฟดาวน์ไลท์แบบติดลอย (Surface Downlight)

หากอยากได้ไฟที่ให้ความสวยงาม เป็นของตกแต่งห้องให้ดูน่าสนใจมากขึ้น ไฟดาวน์ไลท์แบบติดลอยจะให้เราเห็นตัวโคมอย่างชัดเจน มักเลือกใช้งานกับตัวห้องที่ไม่มีโครงฝ้า เน้นใช้ไฟเป็นหลัก มีหลายดีไซน์ หลายขนาดให้เลือกตามต้องการ

       3. ไฟดาวน์ไลท์แบบฝังกึ่งลอย (Semi Recessed Downlight)

ตัวโคมจะฝังอยู่ในฝ้าเพดานและจะมีส่วนหน้าโคมที่ยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย ไฟดาวน์ไลท์ประเภทนี้จะช่วยลดพื้นที่ใต้ฝ้า เหมาะสำหรับการติดตั้งในทุกที่อยู่อาศัยที่ต้องการเพิ่มลูกเล่นให้เพดาน ให้ความสว่างและความสวยงามไปพร้อมกัน

การติดตั้งโคมไฟดาวไลท์:

– ห้องนอน ควรติดโคมไฟดาวน์ไลท์ห่างกันทุก ๆ 1.5 เมตร
– ห้องทำงาน ควรติดโคมไฟดาวน์ไลท์เว้นระยะห่างกันที่ 0.8 เมตร
– ห้องนั่งเล่น ควรเว้นระยะห่างประมาณ 1 เมตร

อย่างไรก็ตามในการออกแบบและวางตำหน่งไฟภายในห้องควรคำนึงถึงตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่การใช้งานร่วมด้วย พร้อมค่าความสว่างที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีของผู้ใช้งาน

ค่า CCT คืออะไร ส่งผลยังไงกับแสง

CCT (Correlated Color Temperature) หรือ อุณหภูมิสีของแสง โดยค่าที่แสดงโทนสีขาวของแสงที่ได้จากหลอดไฟ โดยมีหน่วยเป็น เคลวิน (K) โดยแสงที่มีค่าเคลวินต่ำจะให้แสงโทนอุ่น สีเหลือง ในขณะที่ ค่าเคลวินที่สูงกว่า จะมีโทนแสงขาว โทนเย็น

การเรียกอุณหภูมิของแสงในลักษณะเป็นกลุ่ม เช่น สีวอร์มไวท์ คลูไวท์ หรือเดย์ไลท์ เป็นต้น เป็นการเรียกอย่างกว้างๆ ซึ่งอาจเรียกแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อและผลิตภัณฑ์

สำหรับหลอด LED อาจมีอุณหภูมิของเสงให้เลือกหลากหลาย ดังนั้นผู้บบริโภคควรเลือกอุณหภูมิสีของแสงให้เหมาะกับบรรยากาศที่ต้องการ

ตัวอย่างของโทนแสงตามค่าเคลวินที่สูงขึ้น

สำหรับสีของแสงที่ใช้งานส่วนใหญ่ – CCTในหลอดไฟ และโคมไฟ เราสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • 2000K – 3000K :  วอร์มไวท์ (Warm White) ซึ่งสีของแสงในช่วงนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น เหมือนสีของแสงที่ได้จากหลอดใส้ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกสบาย เหมาะกับที่อยู่อาศัย ห้องพักผ่อน หรือ โซนต้อนรับแขก เป็นต้น
  • 4000K – 5000K : คลูไวท์ (Cool White) โทนเหลืองอมขาว ซึ่งเป็นสีโทนแสงสีขาว เหมือนกับแสงที่ได้จากธรรมชาติ สีโทนนี้เหมาะกับการใช้งานภายใน ซูเปอร์มาเก็ต,​สำนักงาน, ร้านค้า เป็นต้น
  • 5700K – 6500K : เดย์ไลท์ (Daylight) โทน ขาวอมฟ้า ซึ่งเป็นสีโทนเดียวกับท้องฟ้า ซึ่งสีโทนนี้ จะให้ค่า CRI สูงเหมาะกับการใช้งานหลากหลายเช่น ห้องภาพ, ห้องที่ทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์ หรือ ออกแบบที่ต้องการความถูกต้องของสีสูง เช่น ห้องออกแบบกราฟฟิก (Graphic design) เป็นต้น

CCT (Color Rendering Index) ยิ่งมีค่าเคลวินมีค่าต่ำ สีของแสงจะออกไปทางโทนสีเหลือง ในขณะเดียวกัน ยิ่งค่ามากขึ้น สีจะออกไปทางโทนสีฟ้า ซึ่งการเลือกใช้งานที่เหมาะสม จะช่วย เสริมบรรยากาศ, เพิ่มประสิทธิภาพทั้งการทำงาน (สีโทนขาว) และการพักผ่อน (สีโทนเหลือง) ดังนั้นก่อนที่จะเลือกใช้หลอดไฟ ต้องคำนึงถึง CCT ที่เหมาะสมกับหน้าที่ หรือฟังก์ชั่นการทำงานของพื้นที่ต่างๆ ที่เราต้องการใช้แสงด้วย